Friday, October 21, 2005

หลวงพระบางในความทรงจำ

พอดีกำลังล้างเครื่อง ลบของไม่จำเป็นออก พบบทความที่ตัวเองเขียนเรื่องไปหลวงพระบางมา ก็เลยอยากเอามาวางไว้ตรงนี้ เผื่อว่ามีใครอยากทราบข้อมูลนะครับ

ถ้ำติ่ง
มีชื่อเรียก หลายชื่อ เช่นถ้ำติ่ง ถ้ำพระ ถ้ำปากอู
ที่ชื่อถ้ำติ่ง เพราะมีติ่งขนาดใหญ่อยู่ข้างหน้าถ้ำ
ประวัติของถ้ำนี้มีมาแต่สมัยพระเจ้าเชษฐาธิราช ช่วงที่ย้ายจากอาณาจักรล้านนานมาล้านช้าง
เมื่อก่อนไม่ได้มีพระมากอย่างทุกวันนี้ บริเวณถ้ำนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวเรือในแม่น้ำโขง
ระยะห่างจากหลวงพระบาง 25 กิโลเมตร
ในช่วงสงกรานต์ของทุกปีเจ้ามหาชีวิตของลาวจะเดินทางมาสวนผลไม้ส่วนพระองค์และ
แวะนมัสการถ้ำแห่งนี้พร้อมทั้งสรงน้ำและนำพระพุทธรูปมาถวาย พระพุทธรูปจึงเพิ่มมากขึ้นทุกปีจนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนการปกครองทำให้ประเพณีนี้ล้มเลิกไป แต่ยังมีประชาชนนำพระของตัวเองมาถวายอยู่ พระที่นี่บางองค์ทำจากทองคำ บางองค์ทำจากไม้ บางองค์ก็ย้ายไปไว้ที่หลวงพระบางแล้ว
ตอนนี้ถ้ำได้รับการบูรณะโดยกระทรวงวัฒนธรรมลาว ประเทศออสเตรเลีย และยูเนสโก
การเดินทางทางเรือเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวทั่วไปคือจะใช้เวลา 3 ชั่วโมง จากหลวงพระบาง มาบ้านซ่างไห่ มาถ้ำปากอู แล้ววนเรือกลับ ช่วงมาเที่ยว ช่วงสงกรานต์จะดีที่สุด เพราะจะได้ชมการสรงน้ำด้วย
ค่าเข้าชม 8000 กีบ ต่อคน
เวลาเปิด 8.00-17.00
รายละเอียดเพิ่มเติม
-ศตวรรษที่แปด ลาวอพยพมาจากประเทศจีน
-ศตวรรษที่สิบหก ราชวงศ์ลาวเริ่มนับถือศาสนาพุทธ
-ศตวรรษที่สิบแปดถึงยี่สิบ ช่วงอายุของพระพุทธรูป
ภายในถ้ำ พระปางที่นิยมนำมาถวายที่สุดคือปางเรียกฝน ปาง calling the earth to witness (ให้โลกเป็นพยาน?)(ขัดสมาธิแบมือลงดิน) สมาธิปกติ ห้ามญาติ (stop arguing) ไสยาสณ์
-ถ้ำล่าง (lower cave) สูง 60 เมตรเหนือระดับน้ำ มีพระพุทธรูปประมาณ 2500 องค์ มีรูปปั้นสิงห์ ฤๅษี และมีน้ำพุศักดิ์สิทธิ์
-ถ้ำบน (upper cave) เดินขึ้นบันไดไป 218 ชั้น จะถึงถ้ำเทิง(ถ้ำบน) เป็นถ้ำเล็กๆ มีประตูไม้กั้นอยู่หน้าถ้ำ ภายในมืดมาก หากไม่ได้เตรียมไฟฉายมา มีชาวบ้านบริการให้เช่า อันละ 1000 กีบ (คุณภาพสมกับราคา) ภายในมีเจดีย์เล็กๆ อยู่องค์หนึ่ง และพระพุทธรูปอีกจำนวนหนึ่ง

ไกด์เล่าต่อถึงเรื่องแม่น้ำโขงคือ เป็นแม่น้ำที่ใหญ่เป็นอันดับสามของเอเชีย (อันดับ 1 แม่น้ำคงคา อันดับ 2 แม่น้ำแยงซีเกียง อันดับ 3 แม่น้ำโขง) ไหลจากทิเบต ผ่านจีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และออกทะเลที่เวียดนาม บริเวณสามเหลี่ยมทองคำมีความลึกถึง 40 เมตร สามารถรองรับเรือขนาด 250 ตันได้อย่างสบายๆ เมื่อไหลมาทางภาคใต้ของลาวแถวอำเภอศรีเชียงใหม่ อาจรองรับเรือขนาดได้ถึง 500 ตัน
-แม่น้ำโขงนี้มีแม่น้ำจากประเทศลาวไหลเข้ามาบรรจบกันจากทางตะวันออกทั้งสิ้น 11 สาย
-ชื่อของแม่น้ำโขงนี้ คนลาวเรียกแม่น้ำของ เพราะว่า เป็นแหล่งรวมของสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำสำหรับทำประมง นำพาแร่ธาตุสำหรับทำการเพาะปลูก เป็นเส้นทางคมนาคม เป็นต้น
-พูดถึงเรื่องเกษตรกรรม ในอดีตที่ลาวใช้การทำนาแบบแรงควายร้อยละ 90 และแรงคนร้อยละ 10 แต่ปัจจุบันใช้เครื่องจักร (แทรกเตอร์) ร้อยละ 20
-ลักษณะของการทำเกษตรกรรม ยังอาศัยพึ่งพาธรรมชาติอยู่เป็นส่วนใหญ่ ไม่ต้องใช้ระบบการชลประทาน

บ้านซ่างไห่
-การหมักเหล้า
ขั้นแรก ต้องทำแป้งเหล้าก่อน โดยมีส่วนผสมของ ใบสร่างโม (คล้ายใบมะเขือ) ใบอ้อย หัวแกลบ น้ำมาตำผสมกันแล้วทำเป็นแผ่นตากแดดไว้
ขั้นที่สอง นำข้าวเหนียวหมัก 3-4 วัน แล้วไปนึ่งแล้วเอามาล้างน้ำสะอาดแล้วหมักในไห โดยเอาแป้งเหล้าโรย หมักไว้ประมาณ 3-5 วัน แล้วนำไปกลั่น
ขั้นตอนการกลั่นคือนำน้ำเหล้าจากขั้นที่สองไปต้มให้ไอระเหยขึ้นมา ด้านบนมีอ่างน้ำเย็นทำให้ไอควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำไหลออกมาจากภาชนะที่ใช้ต้ม ในการทำแต่ละครั้ง จะได้เหล้าประมาณ 20 ลิตร เมื่อเรียบร้อยจะนำเหล้าที่ได้มาวัดดีกรี
-ราคาขายประมาณ 5000-10000 กีบ (ขึ้นอยู่กับแพ็คเกจ)

ระหว่างทางกลับไกด์เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ให้ฟังว่า เมื่อก่อนนี้ชาวลาวนับถือผีก่อนที่จะมีศาสนาพุทธนิกายหินยานแพร่เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยพระเจ้าฟ้าเงี้ยว บิดาของเจ้าฟ้างุ่ม และ เจ้าฟ้าคำเฮียง (ไม่แน่ใจ) มีตำนานตอนนี้เล่าว่า เจ้าฟ้างุ่มถูกลอยแพไปตามแม่น้ำโขงเพราะโหรทำนายว่าเจ้าฟ้างุ่มจะนำโชคร้ายมาให้ เจ้าฟ้างุ่มลอยไปจนมีพระปริสมันองค์หนึ่งได้มาพบเข้าจึงเก็บไปเลี้ยงดู เจ้าฟ้างุ่มเมื่อนอนจะกรนเป็นเสียงดนตรี แสดงถึงความเป็นผู้มีบุญญาธิการ พระปริสมันจึงนำไปถวายกับพระเจ้าแผ่นดินของอาณาจักรขอมให้เลี้ยงดู เมื่อเจริญวัยก็ได้อภิเษกกับพระธิดานั่นเอง แล้วจึงเริ่มตีเมืองคืนไล่ขึ้นมาจนถึงเมืองไผ่หนาม(เวียงจันทร์)(ที่ชื่อไผ่หนามเพราะว่า เป็นเมืองที่มีต้นไผ่มีหนามล้อมรอบทำให้ตีได้ยาก) เจ้าฟ้างุ่มจึงคิดอุบายด้วยการยิงธนูทองเข้าไปในพุ่มไผ่นั้น พอชาวบ้านเห็นจึงพากันมาตัดต้นไผ่เพื่อเอาทอง ทำให้เปิดทางสะดวกให้ยกกองทัพเข้าตีเมืองโดยง่าย เมื่อตีเมืองไผ่หนามแล้วจึงตีเมืองซัว และเข้าสู่บริเวณเมืองหลวง อา(ไม่แน่ใจว่าเป็นใคร)ก็ยกเมืองให้ทันที

เจ้าฟ้างุ่มทรงประกาศให้ลาวเป็นอาณาจักรล้านช้างเมื่อ คศ.1353 ประชาชนในขณะนั้นนับถือภูตผี ผีแถน นางไม้ ต้องทำการฆ่าสัตว์เพือบูชา ทำให้นางแก้วเกงยา (พระธิดาของกษัตริย์ขอม) ต้องกลับไปกัมพูชาเพื่ออัญเชิญพระพุทธศาสนาให้มาประดิษฐานที่ลาว กษัตริย์กัมพูชาจัดขบวนแห่ขึ้นมาในปี คศ.1359 นำพระบางมาให้ด้วย (พระบางมีขนาดความสูง 83 เซนติเมตร เป็นพระปางห้ามญาติ เป็นทองผสมเงิน)

ปัจจุบันร้อยละ 95 นับถือ ศาสนาพุทธ

ปีคศ.1491 เมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างได้สถาปนาชื่อขึ้นว่าหลวงพระบางโดยพระเจ้าสามแสนไท (เจ้าขุนเฮือน)

ปี คศ.1633 เป็นช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด มีกษัตริย์ชื่อ พระเจ้าสุริยวงศา มีความสัมพันธ์กับไทย กัมพูชาและเวียดนาม สำหรับด้านไทย ได้ทำการสร้างพระธาตุศรีสองรัก ที่จังหวัด... เพื่อแสดงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยมีการจารึกไว้ในศิลาจารึกว่า "ต่างฝ่ายต่างได้รับสิทธิประโยชน์บนดินแดนไทยลาว"

ต่อมาภายหลังแผ่นดินลาวได้แตกเป็นสามส่วนคือ ลาวหลวงพระบาง ลาวเวียงจันทน์ ลาวจำปาศักดิ์ เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงมีสัญลักษณ์ ช้างสามเศียร ซึ่งเรียกว่าล้านช้างร่มขาว

พระวิชุนราช (สมัยก่อนพระเจ้าสุริยวงศา) เป็นผู้สร้างวัดวิชุน ในปี คศ.1500
พระวิชุนราช เป็นพระบิดาของ พระเจ้าโพธิสราช
พระเจ้าโพธิสราชทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งเมืองเชียงใหม่ทำให้ทั้งสองดินแดนมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทรงมีพระโอรสเป็นพระเจ้าเชษฐาธิราช

อาณาจักรล้านช้าง(หรือประเทศลาว)มีกษัตริย์ทั้งสิ้น 63 รัชกาล

เมื่อตอนที่ประเทศลาวแยกเป็นสามส่วน ก็ได้มีการแทรกแซงจากหลายประเทศเช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น

พอสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสก็กลับมาอีก พอจบสงครามก็มี อเมริกาอีก

ปีคศ. 1975 ก็ได้จัดตั้ง สปป ลาวได้สำเร็จ โดยแนวลาวสร้างชาติ

การเลือกตั้งจะมีสี่ปีครั้ง ประชาชนจะเลือก สส. และ สส.จะเลือกประธานประเทศ

เมืองหลวงพระบางมีประชากรประมาณ 500000(ห้าแสน) คน เป็นในเมือง 70000 (เจ็ดหมื่น) คน ประชากรทั้งประเทศลาว มีประมาณ 5 ล้านคน

สะพานเหล็ก สร้างขึ้นโดยญี่ปุ่นในสมัย สงครามโลกครั้งที่สอง

วัดมโนรม สร้างโดยเจ้าฟ้างุ่ม

วัดแสนสุขาราม

รูปภายในกุฏิเจ้าอาวาส เจ้าเพชราชเป็นโอรสของมหาอุปราชบุญคง
-เจ้าอาวาสอายุ 68 ปี
-วัดนี้อายุ 285 ปี (สร้างเมื่อ คศ.1718) แต่วัดเชียงทอง 400 กว่าปี
-วัดวิชุน 500 กว่าปี แต่เกิดไฟไหม้ของเก่าไปแล้ว
-ประเพณีแข่งเรือในน้ำคานเดือน 9 และเดือน 5 (ปีใหม่ลาว)

-ด้านหน้าสิมวันแสนมีตัวหม่อม (คล้ายสิงโตจีนกลมๆ)
-ภายในสิมวัดแสนผนังทาด้วยสีแดง มีรูปพระธาตุในที่ต่างๆ เป็นสีทอง รอบๆ สิม
- มีพระพุทธรูปสำคัญภายในคือ พระแซ่(แส้) มีพระแบบนี้สามองค์ คือที่วัดวิชุน วัดแสน และที่ไทยหนึ่งองค์ (จำไม่ได้ว่าวัดไหน) เป็นพระหล่อหยาบๆ สูงประมาณ 1 ศอก ครึ่ง

จบแล้ว

No comments:

Post a Comment