Saturday, April 29, 2006

การอ่าน หัวใจสำคัญของการพัฒนาชาติ

"สังคมไทยขาดวัฒนธรรมในการอ่าน และขาดปัจจัยสนับสนุนโดยคนไทยอ่านน้อยมาก หากเทียบกับต่างประเทศ จะเห็นว่าคนไทยอ่าน แค่เพียง 5 เล่ม ต่อคนต่อปี ในขณะที่สิงคโปร์ อ่าน 17 เล่ม ต่อคนต่อปี และสหรัฐอเมริกา 50 เล่ม ต่อคนต่อปี ส่วนสถิติการใช้ห้องสมุดพบว่า คนไทยต่ำกว่า 3% ที่เข้าห้องสมุดประชาชน 1 ครั้ง 1 ปี ที่สำคัญพบว่ามีคนไทยต่ำกว่า 1% ที่เป็นสมาชิกห้องสมุดประชาชน เพราะในปี2546 มีผู้ที่เป็นสมาชิกห้องสมุดเพียง 420,000 คนเท่านั้น"

เน้นเอาข้อมูลเขามาหน่อย เผื่อว่าวันหนึ่งเค้าอาจจะลบทิ้งไป

อ่านดูแล้วใจหายว่า ทำไมคนไทยเราถึงอ่านหนังสือกันน้อยจัง แม้แต่คนที่จังหวัดของเราเองก็อ่านหนังสือกันน้อยนะผมว่า ไม่รู้สิครับว่าเค้าเอาตัวเลขมาจากไหนนะ แต่บางทีพวกที่ไปยืนอ่านฟรีที่ร้านหนังสือก็มีนะ คิดว่าน่าจะมีเยอะด้วย แบบนี้นับมั้ย

คนสนใจหนังสือน้อยอย่างนี้ ร้านหนังสือจะอยู่ได้ยังไง ผมคนหนึ่งล่ะ ที่ไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ และยอมรับเลยว่าติดอินเตอร์เน็ต และทีวี มากกว่าหนังสือ ทั้งๆ ที่สามารถหาได้ง่ายกว่าทุกๆ คนเลยด้วยซ้ำ หน้าบ้านก็มี หลังบ้านก็มี

ตอนเด็กๆ ผมเคยชอบอ่านหนังสือนะ แต่มาพักหลังไม่รู้ทำไม อยู่ๆ ก็เลิกชอบไปซะงั้น บางทีก็รู้สึกว่ามันไม่สนุก มันยืดยาด มันไม่ทันใจ หลายที รู้สึกว่า กูรู้แล้วน่ะ ด้วยซ้ำ

เมื่อหนังสือสำหรับผม จากสิ่งบันเทิงเริงรมย์ มันกลายเป็นสินค้าอย่างหนึ่ง อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้การอ่านหนังสือไม่สนุกเหมือนเดิม ไม่สนุกเท่าการต่อรองราคาว่าจะลดได้เท่าไหร่ หรือ ไม่เศร้าเหมือนที่รู้ว่า หนังสือขายไม่ได้เลยซักเล่ม...

คนในประเทศจะโง่ วันนี้คุยกับพี่ทรงสืบว่ามีหลายตัวแปร กระทรวงศึกษา กรมวิชาการ สองอันนี้ควบคุมการวางหลักสูตร โรงเรียน อาจารย์ผู้สอน พวกนี้ ควบคุมความคิดและกระบวนการ พ่อแม่ พวกนี้เลือกโรงเรียน ตัวเด็ก อันนี้ตั้งใจหรือเปล่า ถ้าไม่ตั้งใจก็ไม่รู้เรื่อง และที่สำคัญก็คือ ร้านหนังสือแบบเราๆ ท่านๆ นี่เอง ที่จะชักจูงครูอาจารย์ให้ซื้อหรือไม่ซื้อ ใช้หรือไม่ใช้ (ลดหรือไม่ลด)

เด็กจะโง่จะฉลาดก็อยู่ในมือใครล่ะครับทีนี้ ถ้าคนขายหนังสือ คนใช้หนังสือยังมานั่งต่อรองราคากันอยู่เพื่อที่จะได้ราคาถูกๆ แล้วอนาคตของชาติก็จมดินหมดสิครับ

หรือไง